|
![]() | วันที่ 13 กันยายน 2566
…..คณะผู้บริหารนำโดย นางแสงจันทร์ วรรณคำ
รองประธานสภา และเจ้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง
ลงพื้นที่นำเครื่องอุปโภคบริโภคและนมผงที่ได้รับสนับสนุนสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านเวียงพิงค์ มอบให้แก่ครอบครัวเด็กยากจน หมู่ที่ 4 , หมู่ที่5 และหมู่ที่ 7 ครัวเรือนเปราะบางเพื่อเป็นขวัญกำลังใจและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
13 กันยายน 2566 |
![]() | วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2566
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ได้จัดอบรมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหางดง นำโดยนายก เพ็รช อินต๊ะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง โดยพระมหาคณิต กิตติปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดอินทาราม (วัดแม่ทัง) หมู่ 5 ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ให้ความรู้ต่อผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้มีคุณธรรมจริยธรรม และความโปร่งใส่ ในการทำงานรวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อองค์กร อันจะนำไปสู่การทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน 30 สิงหาคม 2566 |
![]() | นายเพ็รช อินต๊ะนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ร่วมกิจกรรม 25 สิงหาคม 2566 |
![]() | ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง นำโดยนายก เพ็รช อินต๊ะ และเจ้าหน้าที่ด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำโครงการอบรมด้านสาธารณภัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2566 เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาด้านสาธารณภัยในเด็กเล็ก และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม 24 สิงหาคม 2566 |
![]() | ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง นำโดยนายก เพ็รช อินต๊ะ ได้จัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในวันที่ 22 สิงหาคม ณ วัดอินทารามบ้านแม่ทัง เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจในการรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจในชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง 22 สิงหาคม 2566 |
![]() | 9 สิงหาคม 2566 การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง สมัยสามัญ สมัยทึ่ 3 ประจำปี 2566 ครั้งที่ 2 โดย นายศรีวรรณ ยะโอ๊ะ ตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง 21 สิงหาคม 2566 |
![]() | เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ได้มอบหมายให้ นายชัยชุมพล ณ วรรณติ๊บ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง เป็นประธานเปิดการอบรมกองทุนหลักประกันสุขภาพ โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ณ โรงเรียนบ้านดอยดำ โดยมี นักเรียนโรงเรียนบ้านดอยคำและชาวบ้านเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ด้วย 17 สิงหาคม 2566 |
![]() | ด้วยอำเภอฮอดกำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ในวันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอฮอด (พร้อมส่วนกลาง) 15 สิงหาคม 2566 |
![]() | วันที่ 9สิงหาคม 2566 องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง โดย นางแสงจันทร์ วรรณคำ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง
นายสมพล ปอกอ้าย รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง นายณัฐดนัย ทนุโวหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง และ นักพัฒนาชุมชน ได้มอบนม ให้กับเด็กในครอบครัวยากจนและเด็กพิการ ม.4 บ้านผาแตน ม.5 บ้านแม่ทัง และ ม.7 บ้านโค้งงาม 09 สิงหาคม 2566 |
![]() | 9 สิงหาคม 2566 การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง สมัยสามัญ สมัยทึ่ 3 ประจำปี 2566 ครั้งที่ 1 โดย นายศรีวรรณ ยะโอ๊ะ ตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง 09 สิงหาคม 2566 |
![]() | องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง
จัดกิจกรรมทำบุญ 9 วัด ถวายเทียนวันเข้าพรรษาและวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566
ตามโครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีค่า
วันพฤหัสบดี ที่ 3 สิงหาคม 2566
1. วัดพระพุทธบาทตะเมาะ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
2. วัดห้วยน้ำอุ่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (หลวงปู่ครูบาบุญยัง)
3. วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
4. วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
5. วัดพระธาตุดวงเดียว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
6. วัดพระธาตุห้าดวง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
7. วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
8. พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
9. วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ - กองวะ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเขียงใหม่
07 สิงหาคม 2566 |
![]() | วันที่ 7 กรกฎาคม องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ร่วมกับ อสม.บ้านแม่ทัง และโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ทัง ลงพื้นที่รณรงค์และป้องกันโรคไข้เลือดออก ออกเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย สำรวจและกำจัดภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ได้แจกแผ่นพับ และแจกทรายอะเบท เพื่อให้ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ณ หมู่ 5 บ้านแม่ทัง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 07 กรกฎาคม 2566 |
![]() | วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายชัยชุมพล ณ วรรณติ๊บ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ได้ร่วมเป็นประธานเปิดการอบรม "กองทุนหลักประกันสุขภาพ" โครงการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนลดการเกิดระบาดของโรค ณ โรงเรียนบ้านดอยคำ 06 กรกฎาคม 2566 |
![]() | ลงพื้นที่ออกติดตามเยี่ยมบ้านทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอด วันนี้ ( พุธ ที่ 5 กรกฎาคม 2566 ) เวลา 13.00 น. นายเพ็ชร อินต๊ะ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง) , นางสาวแสงจันทร์ วรรณคำ (รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหางดง) และ นางสาวรัชดาวัลย์ พันธุ์ชาญ (เจ้าหน้าที่งานพัฒนาชุมชน) ลงพื้นที่ออกติดตามเยี่ยมบ้านทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอด โดยเป็นครอบครัวเด็กที่มีสิทธิรับเงินตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์การบริหารส่วนตำบลหางดง จำนวน 2 ราย พร้อมทั้งมอบแพมเพิสและนมผง ให้กับครอบครัวดังกล่าว โดยได้รับความอนุเคราะห์นมผงสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผ้าอ้อมสำหรับเด็ก จาก สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านเวียงพิงค์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีพัฒนาการสมวัย 05 กรกฎาคม 2566 |
![]() | การปลูกพืชสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพรไทย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนแล้วยังสามารถใช้เป็นส่วนประกอบของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ ตลอดจนการรักษาทางจิตใจ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการดำรงชีวิตในยุคสมัยปัจจุบันมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้ อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต ฯลฯ มีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ 30 มิถุนายน 2566 |