|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.1 สภาพทั่วไป
1.1.1 ลักษณะที่ตั้ง / อาณาเขต และเขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอฮอด ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 91 กิโลเมตร มีพื้นที่ในเขตการปกครองทั้งหมดประมาณ 124.45 ตารางกิโลเมตร องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอฮอด มีเขตการปกครองรวม 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 3, หมู่ที่ 4, หมู่ที่ 5, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 11
องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 องค์การบริหารส่วนตำบลหางดง มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลท่าข้าม
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลฮอด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตาล
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหลวง
1.1.2 สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบอยู่ติดกับเชิงเขา มีแหล่งน้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำแจ่ม ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงชุมชนในเขต อบต. ส่วนลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป ใกล้เคียงกับชุมชนอื่น ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความชุมชื้น ประมาณ เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม และได้รับอิทธิพลจากพายุใต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกในเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
1.1.3 ด้านเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวม
ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนในเขต อบต.หางดง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพค้าขาย ประมาณร้อยละ 5 และ ประกอบอาชีพอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 5
**************************************************************1.2 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.2.1 การคมนาคม / ขนส่ง การคมนาคม / ขนส่ง อบต.หางดง
มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง และติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยสะดวก โดยมีเส้นทางคมนาคมที่ สำคัญ คือ
1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ถนนสายเชียงใหม่ – ฮอด – แม่สะเรียง) เป็นเส้นทางสายหลักที่สามารถใช้ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยผ่านอำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง กิ่งอำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน
2. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1012 (ถนนสายฮอด – วังลุง) เป็นเส้นทางติดต่อภายในพื้นที่อำเภอฮอด ระหว่างตำบลหางดง ตำบลฮอด และตำบลนาคอเรือ
3. ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1103 (ถนนสายฮอด – ลี้) เป็นเส้นทางติดต่อไปยังจังหวัดลำพูน เพื่อออกสู่ทางหลวงหมายเลข 106 ( ถนนสายลี้ – เถิน) ไปอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไปกรุงเทพฯ หรือไปเชียงใหม่ การคมนาคม / ขนส่ง ที่สามารถติดต่อกับอำเภอฮอด ได้สะดวก คือการคมนาคมทางรถยนต์ ซึ่งเป็นรูปแบบการคมนาคม / ขนส่งที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ในปัจจุบัน ทำให้ชุมชน อบต.หางดง สามารถติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง อำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดและภายในอำเภอ โดยมีรถยนต์โดยสารประจำทางให้บริการดังนี้
1. รถยนต์โดยสารประจำทางสาย เชียงใหม่ – ฮอด สายเชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน สายกรุงเทพฯ – แม่ฮ่องสอนและสายจอมทอง - กรุงเทพ
2. รถยนต์โดยสารสี่ล้อเล็ก (สองแถว) สายฮอด – วังลุง สายฮอด – ดอยเต่า สายฮอด - อมก๋อย สายฮอด – แม่แจ่ม สายฮอด – จอมทอง
และ สายฮอด – แม่สะเรียง
1.2.2 การไฟฟ้า
การให้บริการไฟฟ้าในเขต อบต.หางดง และเขตอำเภอฮอด ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสถานีย่อยให้บริการอยู่ที่ตำบลหางดง อำเภอฮอด สามารถให้บริการกระแส ไฟฟ้าได้ 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 11 ส่วน หมู่ที่ 8 บ้านดอยคำใช้ระบบแสงอาทิตย์
(โซล่าเซล) และไฟฟ้าพลังงานลม
1.2.3 การประปา
การให้บริการด้านการประปาในเขต อบต.หางดง ดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาค มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตเทศบาล มีแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา จากน้ำแม่แจ่มสามารถให้บริการน้ำประปาในเขต อบต.หางดง จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 3 และหมู่ 5 ส่วนหมู่บ้านที่เหลือ เป็นระบบประปาหมู่บ้าน
1.2.4 การสื่อสารและโทรคมนาคม
1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จำนวน 1 แห่ง ห่างจาก ที่ทำการ อบต.หางดง 4 กิโลเมตร
2. สำนักงานบริการโทรศัพท์สาขาจอมทอง สามารถให้บริการโทรศัพท์ในเขต อบต.หางดง ทั้งชนิดติดตั้งประจำบ้าน และตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน
3. เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ สามารถใช้ได้ทุกระบบ
4. สถานีวิทยุ – โทรทัศน์ ทุกพื้นที่ในเขต อบต.หางดง สามารถรับฟังเสียงจากคลื่นสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ได้ชัดเจน และสามารถรับสัญญาภาพโทรทัศน์ได้ทุกช่อง (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์รับสัญญาณภาพที่ติดตั้งพร้อมกับเครื่องรับโทรทัศน์)
1.2.5 การใช้ที่ดิน
1. การใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย ประมาณ 1,000 ไร่
2. การใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม ย่านการค้าหรือพาณิชยกรรมของชุมชนจะอยู่ในบริเวณสองข้างทางและในหมู่บ้าน เป็นร้านขายของชำ
3. การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม ในเขต อบต.หางดง ไม่มีโรงงาน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงการประกอบกิจการขนาดเล็ก เช่น โรงอบลำไยแห้ง อู่ซ่อมรถ กิจการประเภทนี้ไม่มีผลกระทบ ต่อสภาพแวดล้อม ของชุมชน ยกเว้น โรงอบลำไยแห้ง ซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง และกลิ่นเหม็นในฤดูเก็บผลผลิตลำไย
4. การใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรมและที่ว่าง พื้นที่เกษตรกรรมและที่ว่างจะอยู่บริเวณรอบนอกของชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ ในเขต อบต.หางดง มีการทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน พืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ การใช้ที่ดินประเภทนี้มีประมาณ 4,000 ไร่
5. การใช้ที่ดินประเภทสถานศึกษา การให้บริการด้านการศึกษา ในเขต อบต.หางดง มีตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา โรงเรียนระดับประถมศึกษามีจำนวน 5 แห่ง ตำแหน่งที่ตั้งของโรงเรียนเหล่านี้จะกระจาย เกือบทุกหมู่บ้าน การให้บริการครอบคลุมในแต่ละพื้นที่อย่างทั่วถึง ที่ดินประเภทนี้มีพื้นที่รวมกันประมาณ 85 ไร่
**************************************************************
1.3 ด้านเศรษฐกิจ
1.3.1 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ / รายได้ประชากร
สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปของ อบต.หางดง มีลักษณะคือ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม สำหรับอาชีพที่สำคัญรองลงมาจากสาขาเกษตรกรรม คือ การค้าและบริการ
1.3.2 การเกษตรกรรม
ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรมในเขต อบต.หางดง ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่สำหรับ ทำนา ทำสวน เช่น สวนลำไย เป็นต้น พื้นที่สำหรับทำการเกษตรในเขต อบต.หางดง มีประมาณ 4,000 ไร่ ผลผลิต ทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว หอม กระเทียม ลำไย มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉลี่ยจะตกครอบครัวละประมาณ 65,000 บาท ต่อปี
1.3.3 การอุตสาหกรรม
การอุตสาหกรรมในเขต อบต.หางดง เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงสีข้าวขนาดเล็ก มีจำนวน 2 แห่ง โรงอบลำไยแห้ง จำนวน 2 แห่ง ร้านซ่อมเครื่องยนต์, รถยนต์ จำนวน 2 แห่ง มีลักษณะไม่ถาวรและไม่มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ใช้เพียงแรงงานคน ประมาณ 3 – 8 คน
1.3.4 การพาณิชยกรรม / การบริการ
การประกอบการค้า และบริการในเขต อบต.หางดง ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณสองข้างทางและในหมู่บ้าน เป็นร้านขายของชำ
1.3.5 การท่องเที่ยว
ในเขต อบต.หางดง มีแหล่งท่องเที่ยว คือ อุทยานแห่งชาติออบหลวง ซึ่ง อบต.หางดงได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว
1.3.6 การปศุสัตว์
การประกอบการปศุสัตว์ในเขต อบต.หางดง จะอยู่บริเวณรอบนอกของชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อบต. มีจำนวนครัวเรือนที่ประกอบการปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงโคและกระบือ มีประมาณ 240 ครัวเรือน
**************************************************************1.4 ด้านสังคม
1.4.1 จำนวนประชากร ในเขต อบต.หางดง ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
หมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย
หญิง
รวม
หมู่ที่ 1
บ้านแม่ลอง (ออบหลวง)
51
57
108
หมู่ที่ 3
บ้านหางดง
370
403
773
หมู่ที่ 4
บ้านผาแตน
304
289
593
หมู่ที่ 5
บ้านแม่ทัง
387
485
872
หมู่ที่ 7
บ้านโค้งงาม
466
538
1,004
หมู่ที่ 8
บ้านดอยคำ
437
413
850
หมู่ที่ 11
บ้านท่าหิน
167
178
345
จำนวนประชากรในทะเบียนบ้านกลาง
รวม
2,182
2,363
4,545
ข. จำนวนประชากรในเขต อบต.หางดง ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
หมู่บ้าน |
จำนวน/หลัง |
|
หมู่ที่ 1 บ้านแม่ลอง (ออบหลวง) |
49 |
|
หมู่ที่ 3 บ้านหางดง |
336 |
|
หมู่ที่ 4 บ้านผาแตน |
247 |
|
หมู่ที่ 5 บ้านแม่ทัง |
378 |
|
หมู่ที่ 7 บ้านโค้งงาม |
383 |
|
หมู่ที่ 8 บ้านดอยคำ |
246 |
|
หมู่ที่ 11 บ้านท่าหิน |
133 |
|
รวม |
1,772 |
ความหนาแน่นของประชากร 37 คน / ตารางกิโลเมตร ขนาดครัวเรือนโดยเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 3 คน
1.5.2 การคลังท้องถิ่น

1.4.2 การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
บริการสังคมในด้านการศึกษา มีตั้งแต่อนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษา เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 5 โรงเรียน การศาสนา ในเขต อบต.หางดง มีวัดและสำนักสงฆ์จำนวน 6 แห่ง ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ มีประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสลากภัตร ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ เป็นต้น
1.4.3 การสาธารณสุข
1.4.3 การสาธารณสุข
การให้บริการด้านการสาธารณสุขในเขต อบต.หางดง ประชาชนใช้บริการจากโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง มีบุคลากร ได้แก่ แพทย์ 4 คน ทันตแพทย์ 2 คน เภสัชกร 3 คน พยาบาลวิชาชีพ 34 คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 15 คน ลูกจ้างประจำ 29 คน ลูกจ้างชั่วคราว 54 คน
1.4.4 การสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม
ในเขต อบต.หางดง มีผู้ประสานงานของสำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการช่วยเหลือให้การสงเคราะห์คนชราและผู้ด้อยโอกาส
อบต.หางดง ปัจจุบันเป็น อบต.ขนาดกลาง ประกอบด้วย :-
- สมาชิกสภา อบต. จำนวน 14 คน
- คณะผู้บริหารประกอบด้วยนายก อบต. จำนวน 1 คน
- รองนายก อบต. จำนวน 2 คน
- เลขานุการนายก จำนวน 1 คน
- พนักงานส่วนตำบล จำนวน 10 คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 5 คน
*************************************************************
1.5 ด้านการเมืองการบริหาร
1.5.1 โครงสร้างอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของ อบต.หางดงอบต.หางดง ปัจจุบันเป็น อบต.ขนาดกลาง ประกอบด้วย :-
- สมาชิกสภา อบต. จำนวน 14 คน
- คณะผู้บริหารประกอบด้วยนายก อบต. จำนวน 1 คน
- รองนายก อบต. จำนวน 2 คน
- เลขานุการนายก จำนวน 1 คน
- พนักงานส่วนตำบล จำนวน 10 คน
- ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
- พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 3 คน
- พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 5 คน
1.5.2 การคลังท้องถิ่น
งบประมาณรายรับ ประจำปีงบประมาณ 2557

งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2557
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2557
1.5.3 บทบาท/การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร
ประชาชนในเขต อบต.หางดง มีความสนใจและให้ความร่วมมือกับ อบต.ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร เช่น สนใจที่จะรับฟังการปราศรัยเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. และอัตราการมาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุดเพิ่มขึ้นสูงกว่าทุกครั้งประชาชนให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นโดยการเข้าร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาตลอดจนการให้ความร่วมมือมาร่วม กิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น ปลูกต้นไม้วันสำคัญ เป็นต้น
1.5.4 การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน
อบต.ได้ตั้งงบประมาณอุดหนุนสถานีตำรวจภูธรอำเภอฮอด และกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอฮอด เพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน

ประชาชนในเขต อบต.หางดง มีความสนใจและให้ความร่วมมือกับ อบต.ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการบริหาร เช่น สนใจที่จะรับฟังการปราศรัยเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. และอัตราการมาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุดเพิ่มขึ้นสูงกว่าทุกครั้งประชาชนให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นโดยการเข้าร่วมประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาตลอดจนการให้ความร่วมมือมาร่วม กิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เช่น ปลูกต้นไม้วันสำคัญ เป็นต้น
1.5.4 การอำนวยการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน
อบต.ได้ตั้งงบประมาณอุดหนุนสถานีตำรวจภูธรอำเภอฮอด และกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอำเภอฮอด เพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิต/ทรัพย์สินและสวัสดิการของประชาชน
1.5.5 สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.หางดง วันที่ 30 กันยายน 2555
1.5.6 สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายก อบต.หางดง วันที่ 30 กันยายน 2555

*************************************************************
อบต.หางดง มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านจำนวน 2 สาย ได้แก่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำปิง มีราษฎรประมาณ 900 ครอบครัว ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์
1.6.2 ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ในเขต อบต.หางดง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวงและเขต ก.ฟ.ผ.
1.6.3 ทรัพยากรธรณี (ปริมาณ/ชนิดแร่ธาตุ)
ในเขต อบต.หางดง ยังมิได้มีการสำรวจ
1.6.4 สภาพแวดล้อม
คุณภาพแหล่งน้ำและอากาศในเขต อบต.หางดง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมเนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งผลิตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อน้ำและอากาศ
*************************************************************
1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.6.1 ทรัพยากรน้ำอบต.หางดง มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านจำนวน 2 สาย ได้แก่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำปิง มีราษฎรประมาณ 900 ครอบครัว ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรและปศุสัตว์
1.6.2 ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ในเขต อบต.หางดง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวงและเขต ก.ฟ.ผ.
1.6.3 ทรัพยากรธรณี (ปริมาณ/ชนิดแร่ธาตุ)
ในเขต อบต.หางดง ยังมิได้มีการสำรวจ
1.6.4 สภาพแวดล้อม
คุณภาพแหล่งน้ำและอากาศในเขต อบต.หางดง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมเนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งผลิตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อน้ำและอากาศ